วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

เรียน Calculus กับ ศาสตราจารย์ จาก MIT

การสนทนาภาษาอังกฤษนั้นการพูดผิดเรียงประโยคสลับที่ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เช่นถ้ามีชาวต่างชาติบอกเราด้วยภาษาไทยว่า "ฉันข้าวหิวมากๆ" เราคนไทยก็จะไม่รู้สึกขำ แต่กลับจะบอกเค้าให้พูดอย่างถูกต้องว่า "ฉันหิวข้าวมากๆ" แล้วคุณก็จะบอกทางไปร้านอาหาร หรือจะพาไปทานข้าวด้วยก็แล้วแต่เหตุการณ์ ความยากของการสนทนาภาษาอังกฤษคือการฟัง เราต้องฝึกทักษะการฟังให้มากๆ เมื่อเราฟังเข้าใจเราจะตอบคำถามหรือสนทนาได้ในเรื่องเดียวกันกับคู่สนทนา และต่อไปนี้คือบทเรียน Calculus ที่สอนโดย ศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของโลก โดยสำเนียงของท่านค่อนข้างชัดและพูดช้า เหมาะกับการฝึกการรับฟังอย่างยิ่งและยังได้เรียน Calculus ไปด้วยในตัว ไม่ต้องเสียเงินนั่งเครื่องบินไปเรียน ไม่ต้องเสียค่าหอพัก ฯลฯ พี่โอพาน้องมาถึงห้องเรียน MIT ได้แล้ว แค่คลิ๊ก.....

Clip Videos 5 Files



เมื่อน้องได้ฟังหลายๆรอบ น้องจะเข้าใจมากขึ้นๆ และถ้าสามารถปิดเสียงแล้วอธิบายได้ด้วยตนเองเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะเป็นการฝึกฝนที่ดีมากๆ อาจจะไม่ต้องพูดเหมือนท่านทุกคำ แต่แค่จับใจความแล้วถ่ายถอดออกมาให้ได้ จากนี้ไปน้องจะเริ่มเชื่อมั่นในตนเองว่าจริงๆ แล้วน้องก็สามารถเรียน Inter ได้ถ้าได้ฝึกฝนอย่างเป็นขั้นตอน และเด็กสายอาชีพก็ใช่ว่าจะพัฒนาความสามารถไม่ได้ซะทีไหน สู้ๆ ครับน้อง

ติวพิเศษ วิชาสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic Field

E-Mag อีกวิชาปราบเซียน สำคัญมากสำหรับน้องที่เรียนวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังจะต้องใช้เป็นพื้นฐานใจการเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage Engineering) และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับน้องที่เรียนสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ในสมัยก่อนที่ยังมีการสอบตรงรับ นศ.เข้าเรียน ลาดกระบัง บางมด วิชา E-Mag เป็นหนึ่งวิชาที่ต้องอ่านหนังสือกันอย่างเข้มข้นในขณะที่ยังเรียน ปวส.เพื่อจะสอบแข่งขันเข้า ป.ตรีวิศวะฯ แต่มีเพียงไม่กี่โรงเรียนที่ทำการสอนวิชานี้ในระดับ ปวส. ดังนั้นจะต้องหาหนังสืออ่านเองและหาแนวข้อสอบฝึกทำให้คล่อง ทำซ้ำๆ ทำให้เร็วขึ้นๆ และที่สำคัญใช้ Textbook ด้วย ฮิตที่สุดคือเล่มแดง

Engineering Electromagnetics. William H. Hayt, JR. 

เมื่อสอบเข้าไปได้แล้วก็ยังคงใช้เรียนในเนื้อหาเล่มนี้อีก ดังนั้นในบทต้นๆ เช่นพวก Vector จะต้องทำให้ได้คะแนนเต็มเท่านั้น เพราะหลังจากนี้บทนี้ไปแล้วจะพบกับเรื่องจริงผ่านจอ แต่ถ้าน้องมีความรู้ในวิชานี้แล้วน้องจะสามารถเรียน Physic II ได้ง่ายขึ้นมากเลยทีเดียว และถ้ามีความรู้วงจรไฟฟ้าอีกยิ่งง่ายเลย


ทราบหรือไม่ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเปิดให้เราเข้าไปร่วมเรียนได้จากทั่วมุมโลก?
Massachusetts Institute of Technology - MIT มหาวิทยาลัย Top 5 ของโลกเปิดให้น้องๆ และผู้สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้ในเนื้อหาและเอกสารเดียวกับที่ นศ.ของ MIT ใช้เรียนกันจริงๆ คลิ๊กที่นี่ และพิเศษสุดๆ สำหรับน้องที่ลงเรียนติวพิเศษกับพี่โอในวิชา สนามแม่เหล็กไฟฟ้า พี่โอจะใช้ Sheet ส่วนหนึ่งจาก MIT OPEN COURSE WARE เพื่อประกอบการติวให้เข้าใจหลักการ สูตร และทำโจทย์
แต่ถ้าน้องๆ ดูแล้วสามารถศึกษาได้เองก็เป็นผลดี มีอีกหลายหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก ที่เปิดให้บริการนี้ หรือแม้แต่ยูทูบ หรืออื่นๆ อีกมากมายบนโลกออนไลน์ ที่น้องสามารถศึกษาด้วยตนเองได้และฟรี!


วิธีชำระเงิน

เมื่อน้องตัดสินใจได้แล้วหลังจากที่ได้พูดคุยกับพี่โอแล้วให้น้องทำการโอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี้
สามารถโอนเฉพาะวันที่จะเรียนได้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาไม่ต้องหาเงินก้อนหลายพันเหมือนที่อื่น แต่ต้องโอนล่วงหน้า 3 วันก่อนถึงวันเรียน เช่นจะเรียนเฉพาะ 3 ชั่วโมงช่วงเช้า ไม่เรียนช่วงบ่าย ก็โอนเฉพาะ 3 ชั่วโมงแรกในช่วงเช้า ถ้าจะเรียน 3 ชั่วโมงเช้า, 3 ชั่วโมงบ่าย และ 3 ชั่วโมงค่ำ ก็โอนเฉพาะวันที่จะมาเรียน ถ้าเรียน 3 รอบ ทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์ ก็ให้โอนล่วงหน้าทั้ง 2 วันเลย เพื่อจะได้จัดเอกสารและสถานที่ได้เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน


ชื่อบัญชี นางพัชญ์ พุ่มเครือวัลย์
ธนาคารกสิกรไทย สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
เลขที่บัญชี 003-1-48825-7
ประเภทสะสมทรัพย์

และส่งหลักฐานชำระเงินมาที่ 79tutor@gmail.com หรือส่งข้อความเข้ามือถือ 0992653282

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

ติว Calculus ใช้ Textbook สอน

น้องที่ลงเรียนแคลคูลัส 1,2,3 กับพี่โอ จะได้ชีทที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งย้อนหลังไปสิบกว่าปีก่อนขึ้นไป นักศึกษาวิศวะฯ จะเรียน Calculus ต้องใช้ Textbook ซื้อเป็นสมบัติส่วนตัว เรียกว่าแบกไปเรียน เพราะหนังสือจะมีขนาดใหญ่ จะดีใจมากถ้าได้หนังสือปกแข็งและด้านในเป็นภาพสี ตัวหนังสือเล่นสี เนื่องจากจะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น แต่ด้วยความหวังดีของท่านอาจารย์หรือด้วยต้องทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ก็เลยแปลหนังสือต่างประเทศให้น้องๆ ได้อ่านง่ายขึ้น ก็เลยเป็นอยู่กันอย่างในสภาพปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอ่าน Textbook จะเก่งกว่าอ่านหนังสือแปล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการหมั่นทำแบบฝึกหัด แต่แน่นอนผู้ที่อ่าน Textbook ย่อมได้คำศัพท์ที่ตรง เป็นสากล และเพิ่มขีดความสามารถให้กับตัวเองที่แตกต่างจากคนอื่น



ทั้งได้การเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ศัพท์เฉพาะทางไปในตัว อยากเก่งต้องเรียนยากๆ ถ้าอยากเรียนง่ายๆ สบายๆ จะเก่งได้ยังไง เมื่อเรียนจบออกไปทำงานจะต้องเจอคู่มือชิ้นงาน คู่มือเครื่องจักร การเขียน Report หรือแม้แต่การเขียน Email ให้หน่วยงานต่างๆ ล้วนแต่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ นี่ยังไม่พูดถึงต้องนั่งประชุมกับชาวต่างชาติ Present งานในที่ประชุม ฯลฯ นี่คือชีวิตจริง ถ้าน้องหวังแค่เรียนจบได้ใบปริญญาบัตร ก็เพียงพอแล้วพี่ขอบอกตรงนี้ว่าไม่พอจริงๆ คนที่มีพื้นฐานดีรอบด้านจะได้รับโอกาสจากหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรนั้นสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถให้ได้ โดยการส่งไปอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นคนเก่งด้วยยิ่งดี ลองนึกดูถ้าเราเป็นเจ้าของบริษัทเราอยากจะจ้างพนักงานที่มีความสามารถแค่ไหน พอใช้ได้ ดี หรือดีเยี่ยม

ทางเลือก หรือ ทางเลี่ยง วศบ. หรือ ทลบ.

เนื่องจากหลายหน่วยงานในส่วนบริหารการศึกษาของชาติ ได้แนวคิดว่าเด็กที่จบสายอาชีพนั้นมีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ จึงคิดค้นหลักสูตรต่างๆขึ้นมารองรับ เช่น อสบ. ทลบ. ไม่นับรวม คอบ. เพราะกลุ่มนี้อาจจะเรียนวิศวะฯ ได้ไหว เพียงแต่มีใจอยากเป็นครู อาจารย์ แต่โดยส่วนใหญ่ จบมาก็จะมาทำงานในสายอุตสาหกรรมเหมือนคนจบวิศวะฯ มากกว่าเป็นครู อาจารย์ ดังจุดประสงค์ของหลักสูตร จะด้วยอะไรก็ตาม ด้วยความเคารพ ทุกสาขาอาชีพมีข้อดีและทำให้ชีวิตครอบครัวดำเนินไปได้อย่างมีความสุขเช่นกัน เพียงแต่จะยกตัวอย่างประเด็นที่ยืดเยื้อมานานนับสิบปีกับคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ "ถ้าเรียนหลักสูตร xxx แล้วจะได้รับใบ กว. หรือไม่ ต้องทำอย่างไรถึงจะได้รับ ใบ กว." คำตอบง่ายที่สุดคือ "เรียนวิศวะฯ และจบตามเงื่อนไขของสภาวิศวกรฯ"

เมื่อเวลานักศึกษาทางเลือก ที่เลือกเรียนหลักสูตรดังกล่าว เรียนจบออกไปทำงานคนเหล่านี้จะเรียกตัวเองว่าวิศวกรก็ไม่เต็มปาก แม้จะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานเหมือนกับวิศวกรก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วหากต้องมีการเซ็นรับรอง ออกแบบ คุมงาน อำนวยการ ฯลฯ ตามที่กฎหมาย หรือที่สภาวิศวกรฯ กำหนด กลุ่มคนเหล่านี้ก็ไม่สามารถดำเนินการในส่วนนี้ได้ แต่ทางสภาวิศวกรฯ ก็ได้ให้โอกาสกับผู้มีประสบการณ์สามารถขอ กว. พิเศษได้ แต่ถามจริงๆว่า ถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัทจะเลือกรับพนักงานใหม่ระหว่างคนที่มี กว. ตรง กับ กว. พิเศษ คุณจะเลือกใคร หรือคุณเป็นลูกค้า ต้องการจ้างวิศวกร ออกแบบ อะไรสักอย่าง คุณจะเลือกจ้างคนไหน กว. ตรง หรือ กว. พิเศษ 

จากกรณีดังกล่าวเพื่อจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนวิศวกรรม เพื่อจะจบออกมาเป็นวิศวกร ที่มีความสามารถ และมีจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ จริงๆแล้วการเรียนไม่ได้ง่ายกว่ากันเลย บางวิชาเรียนตัวเดียวกัน คนสอนคนเดียวกัน เพียงแต่จำนวนวิชาน้อยกว่า หน่วยกิตทั้งหลักสูตรน้อยกว่าเท่านั้นเอง และในที่สุดน้องๆ ก็จะไปหาเรียนเพิ่มอีกไม่กี่ตัวเพื่อจะได้สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือ ใบ กว. อยู่ดี ทำไมไม่เลือกเรียนวิศวะฯ ตั้งแต่แรก หรือเมื่อมีโอกาสเรียนวิศวะฯ แล้วทำไมไม่ทำให้ดี เรียนให้จบ บางคนเรียนปี 1 เข้าๆ ออกๆ 4-5 ปี ก็ยังไม่จบ จริงๆ ถ้ายอมรับในความสามารถตัวเอง เปลี่ยนสาขาเรียนก็อาจจะได้เงินเดือนปีนึงหลายแสนบาท ตอบแทนคุณพ่อ คุณแม่ได้แล้ว

คอร์ส ปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์สายช่าง สำคัญมาก

เพราะน้องที่จบสายอาชีพมีพื้นฐานคณิตศาตร์ไม่ดี จึิงทำให้ไม่สามารถผ่านด่านอรหันต์ด่านแรกได้คือ แคลคูลัส 1 และฟิสิกส์ 1 ซึ่งถ้าน้องมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะตรีโกณมิติ จะทำให้วิชาฟิสิกส์ 1 เสมือนของแถม และถ้า Calculus I และ Physic I น้องสอบไม่ผ่านติด F ชีวิตจะพบความยุ่งยาก ลำบากสุดๆ จะต่อตัว II ก็ไม่ได้ จะเข้าวิชาภาคก็ไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องโดนคัดชื่อออก หรือถ้ายังเข้มแข็งพอ อึดพอที่จะลุยไปต่อ ก็อาจจะโดนคัดชื่อออกตอนปี 2 เนื่องจากเกรดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด



ทางที่ดี แก้ปัญหาให้ถูกจุด เรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ จะสามารถทำให้น้องเรียนในวิชาต่างๆได้ด้วยความเข้าใจและตามเนื้อหาที่อาจารย์ประจำวิชาสอนได้ทัน ถ้ารักที่จะเรียนวิศวะฯแล้ว น้องต้องมีความชอบ มีความสุขกับการเรียนคณิตสาสตร์ ถ้าคิดว่าน้องไม่ชอบไม่เป็นไร แต่ต้องเรียนให้ได้ดี ถ้าคิดว่าอย่างไรชีวิตนี้จะไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีแล้ว ขอให้น้องเลิกเรียนวิศวะฯ ซะเถอะ ประเทศชาติต้องการวิศวกรที่เก่ง มีความสามารถออกมารับใช้สังคม น้องเปลี่ยนสาขาวิชาอื่นเรียนเถอะ ขอให้ตั้งใจจริง ชีวิตประสบความสำเร็จได้ทุกอาชีพ อย่าเรียนตามกระแส อย่าเรียนเพราะไม่รู้จะเรียนอะไรดี เพื่อจะได้ไม่เสียชื่อเสียงของสถาบัน และชื่อเสียงวิชาชีพ ที่รุ่นพี่ในสายอาชีพนี้เขาสร้างกันมาไว้อย่างดี

คอร์สปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามหัวข้อดังกล่าว นักเรียน ม.ปลาย ใช้เวลาเรียน 3 ปี แต่เราจะติวกันเฉพาะเนื้อๆเน้นๆ ที่สามารถเอาไปใช้เพื่อเรียนต่อในวิชา ป.ตรี ให้ได้อย่างราบรื่น ถ้าน้องลงสมัครคอร์สแคลคูลลัส 1 กับพี่โอโดยไม่มีพื้นฐานที่ดีระดับหนึ่ง ก็จะทำให้เรียนแคลคูลลัสไปได้ช้า ก็จะวนไปสู่จุดเดิมคือเรียนไม่เข้าใจ แต่ถ้าน้องสามารถหาอ่านและทำความเข้าใจกับแบบฝึกหัดได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องมาติวกับพี่ เพียงโทรมาปรึกษาพี่ก็ยินดี จะนับ 1 ถึง ล้าน ก็ต้องผ่าน 0,1,2,...99,999,....1,000,000 แต่ส่วนมาก คนเราอยากจะข้ามไปเป้าหมายปลายทางโดยกระโดดข้ามพื้นฐาน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้

จบสายอาชีพ เรียนต่อวิศวะ ได้ไหม ต้องทำยังไง?

เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับน้องๆ ที่จบสายอาชีพ ต้องการเรียนต่อ วิศวะฯ เมื่อได้รับคำแนะนำแล้ว จะมีคนที่ฝ่าฟัน พยายาม ทำจนสำเร็จ และก็มีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากรอเวลาประกาศรายชื่อ พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา..!!!
คำตอบ :
1.จบสายอาชีพ เรียนต่อวิศวกรรมศาสตร์ได้ (ได้แน่นอน)
2.จบสายอาชีพ เรียนต่อวิศวกรรศาสตร์ ต้องทำอย่างไร (หมายถึงทำอย่างไรถึงจะเรียนจบ) เรื่องนี้ต้องคุยกันยาววววววววววววว

ชีวิต อนาคต ความเป็นอยู่ของครอบครัว เป็นของน้องๆเอง น้องทำดี ทำได้ ก็ดีกับตัวน้องและครอบครัว ถ้าน้องทำไม่ได้ ทำได้ไม่ดี ก็ส่งผลต่อตัวน้องและครอบครัวน้องเองเช่นกัน ไม่มีใครเข้าใจเด็กอาชีวะ สายอาชีพ ดีเท่ากับ เราเด็กอาชีวะด้วยกันเพราะพี่โอก็เคยใช้ชีวิตเส้นทางนี้มาก่อน มันไม่ได้ยากเกินไปสำหรับการเรียนให้จบ เพียงแต่หลายคนไม่รู้ว่าควรเริ่มอย่างไร แก้ไขอย่างไร และจะจบลงอย่างไร

พี่โอเคยเรียนพิเศษทั้งเรียนร่วมกับ ม.ปลาย เด็กเอ็นทรานซ์ และติวเข้มสายอาชีพเพื่อสอบเข้า ป.ตรี ต้องดิ้นรน พยายาม หาหนทางที่จะสร้างความแตกต่างแปลกใหม่ให้กับตัวเอง เพื่อตัวเอง อย่างน้อยเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เทคนิคการทำโจทย์ วิธีการจำสูตร หรือสูตรลัด การเดาอย่างมีหลักการ การตัด Choice ตัวเลือก

และนี่ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่น้องอาจจะเปลี่ยนชีวิตได้ โทรมาคุยกับพี่โอ หรือโพสคอมเม้นไว้ ถ้าเราไม่โกหกตัวเอง ยอมรับความจริง อย่าเดินไปลำพังทั้งที่รู้ว่ามันมึดสนิท ถอยออกมาให้คนที่เคยเดินผ่านไปแล้วเป็นผู้นำทางน้องออกไปสู่ความสำเร็จจะดีกว่า .....0992653282 พี่โอ